ทำไมต้องมีเว็บไซต์ และมีไว้เพื่ออะไร?

ยุคปัจจุบันนี้ ใคร ๆ ก็เปิดเพจขายของบน facebook, เปิดไลน์ @, ทำแชนเนลยูทูล ซึ่งพวกเราเคยคิดไหมว่า ถ้าจู่ ๆ วันหนึ่ง ทาง facebook หรือทางไลน์เปลี่ยนกฎ หรือจู่ ๆ เพจที่เราพยายามสร้างขึ้นมี มีคนติดตามหลักหมื่น หลักแสน หลักล้านคน จู่ ๆ โดนปิด จะทำอย่างไร . . . ถ้าเจออย่างนี้ ขอบอกเลยว่าเข่าแทบทรุดทีเดียว

ยกตัวอย่างตัวผมเอง เพจของผมคนติดตามเยอะมาก จู่ ๆ ไม่ได้ถูกปิดนะ แต่ว่า ไม่สามารถโพสต์อะไรเข้าไปได้เลย ทำอะไรก็ไม่ได้ซักอย่าง ขึ้น "ผิดพลาด" อย่างเดียว . . . โชคดีที่ตัวผมเองมีเว็บเพจส่วนตัว ซึ่งทุกอย่าง เราไม่ได้ทุ่มลงไปในเพจทั้งหมด มีเนื้อหาบางส่วน ที่เคย ๆ ทำเผยแพร่เอาไว้ อยู่ในเว็บไซต์ อยู่ในบล็อก ที่จดเป็นชื่อโดเมนของเราเอง (www.suaythep.com) ซึ่งสมัยก่อนนั้น การจดโดเมนเนม และการเช่าโฮสต์นั้นแพงมาก แต่ในปัจจุบัน ไม่แพงเลยนะครับ . . .

ช่วงหลัง ๆ มานี้ ผมก็เลยมุ่งมั่น เอาเพจเก่า ๆ ของเรา ที่ทำไว้ไม่ค่อยสวย และไม่ค่อยเป็นหมวดหมู่ เอามาเรียงให้เป็นหมวดหมู่ พร้อมทั้งมีหน้าสำหรับขายสินค้าโดยเฉพาะ . . . ถ้าเกิดช่องทางอื่น ๆ ของเรามีอันเป็นไป อย่างน้อยก็ยังเหลืออีกช่องทางหนึ่ง เอาไว้ติดต่อแฟน ๆ หรือแฟนเพจได้ครับ . . .

ประโยชน์ของเว็บเพจ :

  1. เป็นช่องทางติดต่อ ให้ข้อมูล ซึ่งเราใส่ข้อมูลไปได้เรื่อย ๆ และสามารถเรียงให้เป็นระเบียบ เป็นระบบตามที่เราออกแบบไว้ได้

  2. เป็นช่องทางสำรอง เผื่อกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์ของเราเกิดมีปัญหา (#เฟซบุ๊คถูกปิด, #เฟซบุ๊คถูกบล็อก, #เฟซบุ๊คถูกแฮ็ก, #เฟซบุ๊คเจ๊ง, #เฟซบุ๊คผิดพลาด) เราจะยังคงสามารถดำเนินธุรกิจ หรือทำมาหากินของเราต่อไปได้อย่างไม่มีการสะดุด

  3. เป็นสถานที่ให้ข้อมูลแฟนเพจของเรา โดยไม่มีโฆษณามากวนใจ หลัง ๆ มานี้ เข้าเว็บไหน ๆ ก็เจอแต่โฆษณาเต็มไปหมด ทั้งที่มีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์ เท่าที่สอบถามดู แฟนเพจส่วนใหญ่ของเรา มาติดตามเราก็เพราะอยากได้ข้อมูล ไม่ได้อยากดูโฆษณาอะไร ดังนั้น การมีช่องทาง โดยการทำเป็นแอป หรือทำเป็นเว็บไซต์โดยเฉพาะ แบบปลอดโฆษณา ก็นับเป็นการบริการลูกค้า ช่วยให้ลูกค้าผ่อนคลายจากการถูกโฆษณากระหน่ำได้

ข้อดี vs ข้อเสียของเว็บไซต์

ข้อดี:

  • ปรับแต่งได้ตามใจชอบ ไม่มีข้อจำกัด ใส่ได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง หรืออะไรก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น

    • ใส่ข้อความได้

    • ใส่ภาพได้

    • ใส่วิดีโอได้

    • ใส่สไลด์โชว์ได้

    • ใส่แบบฟอร์มได้

    • ฯลฯ

  • ไม่มีโฆษณามากวนใจผู้ติดตาม

ข้อเสีย:

  • มีขั้นตอนการทำพอสมควร . . . แบบว่าต้องศึกษานิดหน่อย

  • ต้องเรียนรู้ ทำให้บางคนคิดว่ายาก (แต่จริง ๆ ไม่ได้ยาก)

  • ไม่มีปุ่มกด Like คล้าย ๆ กับการสื่อสารทางเดียว